Powered by

มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่เกิดจากปอดซึ่งเป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำสองอันภายในผนังหน้าอก มะเร็งปอดมีหลายประเภท แต่ที่พบบ่อย ได้แก่

  1. มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็ก (NSCLC): สามารถพบได้ประมาณ 80-85% ของมะเร็งปอดทั้งหมดและในกลุ่มนี้ยังมีมี 3 ชนิดย่อยที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ squamous cell carcinoma adenocarcinoma และ large cell carcinoma
  2. มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (SCLC): สามารถพบได้ประมาณ 10-15% ของมะเร็งปอดทั้งหมด แต่มักจะแพร่กระจายเร็วมาก ประมาณ 70% ของผู้ที่ได้รับ SCLC ได้รับการวินิจฉัยในระยะที่ 4 เมื่อมะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว

ตามสถิติแล้วมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองของโลกและเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั่วโลก มะเร็งปอดกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในทั้งสองเพศ

The American Cancer Society ประมาณการตัวเลขสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปอดในสหรัฐอเมริกาสำหรับปี 2020 ดังนี้:

อย่างไรก็ตามด้วยโปรแกรมการตรวจคัดกรองและขั้นตอนการรักษาในปัจจุบัน มะเร็งปอดทั้งสองชนิดสามารถรักษาได้หากได้รับการตรวจพบในระยะแรก

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปอดคืออะไร?

  1. การสูบบุหรี่: ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับมะเร็งปอดคือการสูบบุหรี่
  2. การสูบบุหรี่มือสอง: การสูบบุหรี่มือสองเป็นอันตรายพอ ๆ กับการสูบบุหรี่โดยตรง หมายถึงการสูดควันจากผู้สูบบุหรี่รายอื่น
  3. การสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง: การสัมผัสกับสารอันตรายเช่นเรดอน แร่ใยหิน และสารอื่น ๆ เช่นสารหนูทำให้คุณเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด
  4. การฉายแสง: การได้รับการรักษาด้วยการฉายแสงสำหรับมะเร็งอีกชนิดที่บริเวณหน้าอกจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด
  5. ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งปอด: พันธุกรรมเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับมะเร็งหลายชนิด มะเร็งปอดเป็นหนึ่งในนั้น การมีญาติระดับแรกที่เป็นโรคนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากญาติได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่อายุน้อยจะเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งปอดของคุณด้วย
  6. ประวัติส่วนตัวของมะเร็งปอด: การได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดก่อนหน้านี้จะเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งปอดอีกครั้ง

มะเร็งปอดเกิดจากอะไร?

แม้ว่าการสูบยาสูบจะถูกระบุว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปอด แต่นักวิจัยพบว่าการสูบยาสูบนั้นสามารถนำไปสู่มะเร็งปอดได้แม้จะไม่ใช่สาเหตุที่แน่ชัดก็ตาม โดยมีผู้ป่วยที่สูบยาสูบกว่า 80% ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอด

เป็นที่ยอมรับกันดีว่าการกลายพันธุ์ของยีนอาจเปลี่ยนแปลงดีเอ็นเอของเซลล์ปอดไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ อย่าลืมว่ามะเร็งเริ่มจากเซลล์เดียวก่อนจะแพร่กระจายและเติบโต ยีนสองชนิดอาจรบกวนความสามารถนั้น สิ่งเหล่านี้คือยีนก่อมะเร็งและยีนต้านเนื้องอก การเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่นำไปสู่การกลายพันธุ์ของเซลล์อาจเกิดจากการสืบทอดทางกรรมพันธ์ุหรือเกิดขึ้นจากการกระตุ้นจากปัจจัยอื่น ๆ

สัญญาณและอาการของมะเร็งปอด:

โดยปกติแล้วมะเร็งปอดจะไม่แสดงอาการและอาการจะปรากฏขึ้นเมื่อมะเร็งลุกลาม

อาการและสัญญาณอาจมีดังต่อไปนี้:

  1. ไอต่อเนื่องและรุนแรง
  2. ไอเป็นเลือด
  3.  เจ็บหน้าอก
  4. เสียงแหบ
  5. น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  6. เบื่ออาหาร
  7. อ่อนเพลียและอ่อนแอ
  8. หายใจลำบาก (หายใจถี่)
  9. หายใจหอบ (มีเสียงหวีดเมื่อคุณหายใจ)
  10. การติดเชื้อในปอด
  11. ปวดกระดูก ประสาทสัมผัสเกิดการเปลี่ยนแปลง และดีซ่านหากมีการแพร่กระจาย
  12. ต่อมน้ำเหลืองบวม ถ้ามีการแพร่กระจาย

วินิจฉัยมะเร็งปอดได้อย่างไร?

มะเร็งปอดสามารถวินิจฉัยได้จากสิ่งใดสิ่งหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. การฉายภาพ: การทำ CT scan หรือ X-Ray สามารถระบุได้ว่ามีความเสียหายหรือชิ้นเนื้อในปอดหรือไม่
  2. การตรวจหาเซลล์มะเร็งในเสมหะ: หากมีเสมหะที่เกิดจากการไออย่างต่อเนื่อง การทดสอบเสมหะโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์จะมีประโยชน์ในการตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  3. การตรวจชิ้นเนื้อด้วยเข็ม (ตัวอย่างเนื้อเยื่อ): การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อในปอดเพื่อระบุลักษณะของชิ้นเนื้อและชนิดของมะเร็งหากได้รับการยืนยัน
  4. การส่องกล้องหลอดลม: ใช้หลอดไฟส่องผ่านลำคอและเข้าไปในปอดเพื่อค้นหาเซลล์ที่ผิดปกติ
  5. การส่องกล้องดูเมดิแอสตินั่ม: การสอดเครื่องมือพิเศษผ่านรอยผ่าเล็ก ๆ (แผล) ที่ปลายคอเพื่อเก็บตัวอย่างต่อมน้ำเหลืองหากมีข้อสงสัยว่าเป็นมะเร็ง

การรักษามะเร็งปอด:

หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดแล้วแพทย์ของคุณจะกำหนดระยะของโรค แพทย์จะหารือกับคุณเกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาของคุณอ้างอิงจากสถานะสุขภาพ ประวัติการักษาและระยะของโรค

ตัวเลือกการรักษา ได้แก่ :

  1. การผ่าตัด: การผ่าตัดมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของมะเร็งโดยอาจมีดังต่อไปนี้
    •  Pneumonectomy: เอาปอดออกทั้งหมด
    •  Lobectomy: เอาปอดทั้งกลีบออก
    • การผ่าตัดแยกส่วน: เอาปอดส่วนที่ใหญ่กว่าออก แต่ไม่ใช่ทั้งกลีบ
    • การผ่าตัดแบบลิ่ม: เอาส่วนเล็ก ๆ ของปอดที่มีเนื้องอกออกพร้อมกับขอบของเนื้อเยื่อที่แข็งแรง
  2. เคมีบำบัด: การใช้ยาบางชนิดเพื่อฆ่ามะเร็ง ซึ่งสามารถรับได้ทั้งทางหลอดเลือดดำหรือทางปาก อาจเป็นยาตัวเดียวหรือยาสองตัวผสมกันในช่วงเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน
  3. รังสีรักษา: ใช้ลำแสงพลังงานสูงจากแหล่งต่างๆเช่นรังสีเอกซ์และโปรตอนเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง สามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้ร่วมกับเคมีบำบัด
  4. การรักษาด้วยยาตามเป้าหมาย: การใช้ยาบางชนิดเพื่อกำหนดเป้าหมายความผิดปกติที่มีอยู่ภายในเซลล์มะเร็ง
  5. ภูมิคุ้มกันบำบัด: ใช้เซลล์ภูมิคุ้มกันหรือยาบางชนิดที่กระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันให้ฆ่าเซลล์มะเร็ง
  6. การรักษาทางเลือก: การใช้ทางเลือกอื่น ๆ ตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อโจมตีเซลล์มะเร็ง

วิธีการป้องกันมะเร็งปอด

ไม่มีวิธีที่ยืนยันได้ในการป้องกันมะเร็งปอด แต่การลดปัจจัยเสี่ยงสามารถลดโอกาสในการเกิดมะเร็งปอดได้

  1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  2. หยุดสูบบุหรี่
  3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่มือสอง
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับก๊าซก่อมะเร็ง
  5. ทดสอบค่าสารก่อมะเร็งเรดอนภายในบ้าน
  6. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  7. ออกกำลังกายเกือบทุกวันในสัปดาห์

 

แหล่งอ้างอิง